top of page
ค้นหา

ระเบิดc-4

  • รูปภาพนักเขียน: rawtyoooo
    rawtyoooo
  • 1 ก.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

รถถังโดนระเบิดซีโฟร์ทำลาย

เชื้อประทุหรือตัวจุดระเบิด ออกแบบได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างใช้ระบบจุดระเบิดแบบไฟฟ้า หรือ รีโมทคอนโทลซึ่งเป็นการควบคุมระยะไกลก็ได้ เมื่อตัวจุดระเบิดทำงาน ดินระเบิดภายในซีโฟร์ก็จะทำปฏิกิริยาเคมีอย่างต่อเนื่อง และระเบิดออกมา

แก๊สที่ได้จากการระเบิด คือไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ มันจะขยายตัวด้วยความเร็วประมาณ 26,400 ฟุตต่อวินาที หรือ 8050 เมตรต่อวินาที ความเร็วขนาดนี้ไม่มีกล้องถ่ายรูปใดในโลกใบนี้ที่จะสามารถถ่ายภาพออกมาได้ เพราะภายในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที่ ทุกๆสิ่งที่อยู่โดยรอบรัศมีการทำลายจะถูกทำลายลง

ระยะการระเบิดมี 2 เฟส เฟสแรกขณะที่แก๊สขยายตัวออกจากศูนย์กลาง จะเกิดความกดดันต่ำที่บริเวณศูนย์กลางการระเบิด เนื่องจากโมเลกุลของแก๊สพุ่งออกรวดเร็วมาก มันจึงดูดแก๊สออกจากจุดศูนย์กลางเกือบหมดเกิดเป็นสูญญากาศภายในขึ้น หลังจากที่มันขยายตัวออกจนสุดแล้ว เข้าสู่เฟสที่สอง แก๊สทึ่ไหลออกไปจะไหลกลับเข้าบริเวณที่เป็นสูญญากาศ เกิดคลื่นกระแทกย้อนกลับ รุนแรงไม่แพ้เฟสแรก

ระเบิดซีโฟร์จำนวน ครึ่งกิโล สามารถหยุดรถถัง M112 ได้ หรือสามารถทำลายรถบรรทุกได้ทั้งคัน

ทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะขุดหลุมฝังระเบิดซีโฟร์ไว้ใต้กำแพงหรือบังเกอร์ของฝ่ายศัตรู เพื่อทำลายสิ่งกีดขวางและให้ทหารฝ่ายตัวเองบุกผ่านเข้าไปได้ ในสงครามเวียตนาม ระเบิดซีโฟร์ถูกใช้พร้อมกับระเบิดมือ ทหารบางคนบรรจุลูกปืน หรือบอลแบริ่ง เข้าไปในภาชนะที่บรรจุระเบิดด้วย เมื่อระเบิดขึ้น เศษโลหะจะพุ่งเข้าทำลายสิ่งกีดขวางรวมทั้งสิ่งมีชีวิตโดยรอบ

เพราะระเบิดซีโฟร์ทำได้ง่าย พวกผู้ก่อการร้ายทั่วโลกนิยมใช้ จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ปริมาณของซีโฟร์เพียงเล็กน้อยมีอำนาจการทำลายสูง ฟิสิกส์ราชมงคลไม่ได้สนับสนุนการทำลายล้าง เพียงแต่บอกเล่าส่วนผสมและวิธีทำว่าได้ไม่ยากเลย และทั้งหมดก็สามารถอธิบายด้วยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ทั้งสิ้น

 
 
 

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square

© 2023 by  setthapong chansorn

bottom of page